ป้องกันโควิดจากพัสดุไปรษณีย์

How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic
How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic ,Credit ภาพจาก THE STANDARD

How to protect COVID-19 from E-Commerce Packaging during the pandemic

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19 กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เป็นเหมือนด่านหน้าที่ยังคงต้องทำหน้าที่แบบหยุดไม่และเหมือนจะยิ่งหนักมากขึ้นในช่วงที่ทางการประกาศ Lock Down เพื่อลดการเดินทางและการรวมตัวกันของประชาชน พวกเขาคือพนักงานจัดส่งสินค้า นั้นเอง

ไปรษณีย์ไทยยกระดับมาตรการสกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19  โดยหนึ่งในมาตรการสำคัญคือการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสิ่งของฝากส่งผ่านทางไปรษณีย์ขาเข้าที่มาจากต่างประเทศทุกชิ้น ภายในศูนย์ไปรษณีย์ 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ไปรษณีย์สุวรรณภูมิ ศูนย์ไปรษณีย์หลักสี่ ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) และศูนย์ไปรษณีย์กรุงเทพ ซึ่งถือเป็นศูนย์ไปรษณีย์หลักในการคัดแยกไปรษณียภัณฑ์ขาเข้าจากต่างประเทศของไปรษณีย์ไทยก่อนกระจายส่งพัสดุไปยังประชาชน (Cr:The Standard)

How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic
How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic, Credit ภาพจาก THE STANDARD

ด้านที่ทำการไปรษณีย์ หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่หรือผู้ใช้บริการที่มีความเสี่ยงมาใช้บริการ จะทำการปิดที่ทำการไปรษณีย์เพื่อทำความสะอาด พ่น อบ น้ำยาฆ่าเชื้อไวรัสก่อนแล้วจึงเปิดให้บริการอีกครั้ง และในส่วนของร้านไปรษณีย์ ได้กำกับให้รายงานเกี่ยวกับสุขภาพของพนักงานอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งขอความร่วมมือร้านไปรษณีย์ไทย และเครือข่ายไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ ปฏิบัติตามมาตรการเดียวกันกับ ไปรษณีย์ไทยที่ดำเนินการตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข  (Cr:The Standard)

โดยส่วนตัวผมเอง ทราบซึ่งและขอขอบคุณพี่ๆน้องๆที่ทำงานด้านการจัดส่ง ไม่ว่าจะเป็นของบริษัทใหน ทั้งภาครัฐอย่างไปรษณีย์ไทย และบริษัทเอกชนทุกๆเจ้า เพราะผมถือว่าเป็นงานบริการที่มีความเสี่ยงที่จะได้สัมผัสกับเชื้อโรคที่อาจมีปะปนมากับบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ทีอยู่ระหว่างการจัดส่ง #Savedeliveryman

How-to-Protect-Postoffice-during-COVID-Pandamic
How-to-Protect-Postoffice-during-COVID-Pandamic

ไม่แน่ใจว่าทุกท่านคิดเหมือนผมไหมหลายครั้งที่ต้องรับสินค้าจากพนักงานจัดส่งในช่วงโควิชสิ่งหนึ่งที่กังวลใจไม่ได้คือบรรจุภัณฑ์ต่างๆเรานั้นเราไม่แน่ใจว่ามันผ่านอะไรมาบ้างจะมีการปะปนของเชื้อโรคติดมาด้วยไหม
อีกใจหนึ่งก็นึกเห็นใจพี่น้องพนักงานจัดส่งของแต่ละบริษัทที่ทำหน้าที่กันอย่างแข็งขันซึ่งก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องสัมผัสกับบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นโดยตรง ขนมหรือน้ำดื่มเล็กๆน้อยที่เรายื่นให้ตอนได้รับสิ่งของเพื่อเป็นการตอบแทนความกล้าหาญของพวกเขาที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันในช่วงวิกฤติโรคระบาดเช่นนี้

โคโรน่าไวรัส

เชื้อไวรัสโควิด 19สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวต่างๆได้นานแค่ไหน

งานศึกษาวิจัยระบุว่าเชื้อไวรัสโควิดนี้อาจมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวสเตนเลสและพลาสติกถึง 72 ชั่วโมง น้อยกว่า 4 ชั่วโมงบนทองแดง และน้อยกว่า 24 ชั่วโมงบนกล่องกระดาษแข็ง

Cr:https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19

How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic
How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic

จากข้อมูลข้างต้นทำให้เราทราบว่าเชื้อโคโรน่าไวรัส สามารถมีชีวิตอยู่บนพลาสติก เช่นซองพลาสติกที่เราใช้จัดส่งพัสดุสินค้าที่สั่งออนไลน์ต่างๆ ได้นานถึง 72 ชั่วโมง หรือ 3วัน !

How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic-10

และเชื้อโคโรน่าไวรัสยังมีสามารถมีชีวิตอยู่บนกล่องกระดาษแข็ง (Corrugated Box) หรือกล่องสินค้าที่เราสั่งของกันทุกๆวัน ได้ประมาณ 1 วัน ซึ่งด้วยขบวนการจัดส่งทีรวดเร็วในยุคที่บริษัทขนส่ง มีการแข็งขันกันด้านความเร็วในการบริการ พวก SAME DAY ต่าง ทำให้สินค้าสามารถจัดส่งถึงมือเราได้ภายในไม่เกิน 24ชั่วโมง ก็อาจเป็นโอกาสทีเกิดขึ้นได้

How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic-10
How-to-Protect-Postman-during-COVID-Pandemic-10

มันคงจะดีกว่าไหมถ้าบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้ในการจัดส่งพัสดุเวลาสั่งสินค้าออนไลน์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นซองพลาสติก ซองกระดาษ หรือกล่อลกระดาษลูกฟูกแบบต่างๆ สามารถช่วยป้องกันการแพร่กระจ่ายของเชื้อโรคได้ หรือแม้กระทั้งมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อโรคต่างๆได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน

ต้องขอขอบคุณทีมพัฒนาวิจัยของบริษัทกรีนวีซีไอประเทศเกาหลีที่ช่วยพัฒนาสารกรุงแต่งสำหรับใช้ในการผลิตฟิล์มพลาสติกและรูปแบบน้ำยาสำหรับเครื่องพลกล่องกระดาษลูกฟูก
โดยจุดประสงค์ของสารปรุงแต่งหรือน้ำยาที่ใช้เคลือบบนบรรจุภัณฑ์ต่างๆเรานี้เพื่อให้มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค

หลักการของสารป้องกันเชื้อจุลชีพของเราโดยภาพรวมจะคล้ายกับสารกันบูดที่ผสมในอาหารคือ สามารถออกฤทธิ์ทันทีตั้งแต่ที่ผลิตเสร็จโดยกระบวนการทำงานจะเป็นใน 2 ลักษณะคือ
1)การยับยั้งเชื้อโรคจากการสัมผัส เช่นเมื่อเรานำมือที่มีเชื้อโรคไปสัมผัสกับถุง เชื้อโรคเหล่านั้นก็จะถูกฆ่าโดยสารที่ผสมอยู่ในเนื้อถุงหรือบนกล่องกระดาษลูกฟูก
2)ยับยั้งเชื้อโรคโดยการปล่อยไอระเหยโมเลกุลออกมา เช่นกรณีที่เรามีการเคลือบสารต้านเชื้อไว้ด้านในของซองพัสดูหรือกล่องพัสดุ สารที่อยู่ในเนื้อถุงหรือที่เคลือบบนผิวกล่องจะสามารถปล่อยไอระเหยในระดับโมเลกุลที่ตาเปล่ามองไม่เห็นออกมาอยู่พื้นที่ปิดของบรรจุภัณฑ์ดังกล่าว เพื่อช่วยป้องกันการเจริญเติมโตของเชื้อโรคที่อยู่ภายในบรรจุภัณฑ์ได้อีกทางหนึ่ง โดยโมเลกุลเหล่านี่สามารถสลายตัวไปได้เองตามธรรมชาติเมื่อเรานำสินค้าออกจากซองหรือกล่อง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save